วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556




 แสงแดดตัวการทำลายผิว 


          แสงแดดเป็นตัวการทำลายผิว และแสงแดดยังทำให้เราเป็นมะเร็งผิวหนัง ดังนั้นเราจึงควรปกป้องผิวจากแสงแดด เพื่อให้ผิวสวยมีสุขภาพดีต่อไป


ผิวสวยและแสงแดด           หากอยากมีสุขภาพผิวสวยสมบูรณ์ ปราศจากมะเร็งผิวหนัง และริ้วรอยกระฝ้า ข้อมูลต่างๆ ต่อไปนี้เป็นประโยชน์ต่อคุณแน่ๆ
ผิวส่วนที่ไม่ถูกแดดก็อาจเป็นมะเร็งผิวหนังได้
          จากสถิติพบว่า มะเร็งผิวหนังที่เกิดกับผิวส่วนที่ถูกแดดจริง ๆ มีเพียง 22% เท่านั้น ที่เหลือจะเกิดกับผิวส่วนที่ไม่ถูกแสงแดดสม่ำเสมอ เช่น จากไฝหรือผิวที่มีเม็ดสีผิดปกติต่าง ๆ แม้ในร่มผ้าก็มีสิทธิ์เป็นมะเร็งได้เช่นกัน เพราะแสงแดดจะทำให้ความต้านทานของผิวทั้งหมดลดลง ไม่ใช่แค่เฉพาะส่วนที่ถูกแดดเท่านั้น ไม่ว่าผิวส่วนไหนก็อาจเป็นมะเร็งได้        
 แล้วจะเลือกซื้อครีมกันแดดอย่างไรดี
          คนส่วนใหญ่ทาครีมกันแดดแค่ 1 ใน 3 ของปริมาณจำเป็นจริง ๆ ที่ควรใช้เท่านั้น บางคนชอบซื้อขวดเล็ก ๆ เพราะประหยัด ที่ถูกคือต้องซื้อขวดใหญ่และทาให้ทั่วก่อนออกจากบ้าน อย่าลืมทาบริเวณที่นึกไม่ถึง เช่น หลังใบหู เปลือกตาและด้านหลังน่อง ควรทาซ้ำทุก ๆ 90 นาที หากอยู่กลางแดดตลอดเวลา และไม่ควรใช้หลายยี่ห้อผสมกัน เพราะส่วนผสมในครีมกันแดดจะมีความเข้มข้นไม่เท่ากัน เนื่องจากพื้นฐานของสารเคมีต่างกัน จึงควรใช้ยี่ห้อเดียวจะได้ผลกว่า        
  ครีมกันแดดที่เหมาะกับผิวเป็นแบบไหน
          ดร.สกอต เมนซี แพทย์ผิวหนังชาวออสเตรเลีย แนะนำให้ใช้ครีมกันแดดที่มี SPF30++ ขึ้นไป ที่ระบุว่าสามารถปกป้องผิวได้ทั้งจากรังสียูวีเอ (สาเหตุของการเกิดริ้วรอย) และรังสียูวีบี (สาเหตุของอาการไหม้บนผิว) และเลือกชนิดที่ทนทานต่อเหงื่อและน้ำที่ระบุว่าเป็น Water-resistant ถ้าเป็นคนผิวบอบบาง แพ้ง่าย ควรเลือกครีมกันแดดชนิดที่มีส่วนผสมของไททาเนียมไดออกไซด์ (Titanium Dioxide) และเลือกชนิดที่ปราศจากส่วนผสมของน้ำหอม


 ระยะเวลาในการตรวจเช็คผิวหนัง
          หากมีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งผิวหนัง หรือมีไฝหรือหูด ตลอดจนสิ่งผิดปกติบนผิวหนัง ควรพบแพทย์ผิวหนังเพื่อตรวจเช็คอย่างน้อยปีละครั้ง หรือแพทย์อาจระบุให้มีการเช็คสุขภาพผิวโดยละเอียดในโปรแกรมเช็คสุขภาพประจำปีก็ได้          
สาเหตุและเวลาที่เลวร้ายที่สุดของการอาบแดด
          เวลาอันตรายคือตั้งแต่ 10 โมงเช้าถึงบ่าย 2 โมง หรือช่วง 11 โมง ถึงบ่าย 3 เพราะเป็นช่วงที่จะได้รับรังสีอัลตร้าไวโอเลตจากดวงอาทิตย์มากถึง 60% เลยทีเดียว          
วิธีสังเกตอาการมะเร็งผิวหนัง
          เริ่มจากการสังเกตจุดด่างดำที่ผิดปกติบนผิวหนังที่แผ่กว้างขึ้นโดยเฉพาะช่วงหลังหมดรอบเดือน การขยายของผิวที่ผิดปกติหรือมีเลือดออก การเปลี่ยนขนาด รูปร่างหรือสีที่ผิดไป เมื่อเกิดสิ่งผิดปกติดังกล่าว ควรไปตรวจทุกครั้ง อย่าปล่อยทิ้งไว้เพราะอาจเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งผิวหนังได้
ช่องโหว่ของชั้นโอโซนกับความเสี่ยงของมะเร็งผิวหนัง
          ศาสตราจารย์โรบิน มาร์ตส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านผลสะท้อนของชั้นโอโซนกับโรคมะเร็งผิวหนังของออสเตรเลียระบุว่า ชั้นโอโซนที่โหว่และบางลง เป็นสาเหตุหลักของอัตราการเกิดมะเร็งผิวหนังได้ แต่ในขณะนี้สิ่งที่น่ากลัวกว่าคือ การสะท้อนกลับของรังสีทั้งสองชนิดที่เกิดจากการใช้สารเคมีที่ทำให้เกิดสภาวะขาดโอโซน เช่น สารจากผลิตภัณฑ์โพลีสไตรีน เรซิ่นที่ใช้ในการทำฐานฟัน สารจากยาฆ่าแมลงและจากเครื่องปรับอากาศ ดังนั้นช่องโหว่ของชั้นโอโซนไม่ได้ทำให้ระดับความเสี่ยงเรื่องมะเร็งผิวหนังในปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้นเท่ากับความเสี่ยงที่เราได้รับจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้


 การปกป้องผิวจากแสงแดด

          ผิวที่ถูกแสงแดดแรง ๆ เป็นประจำ อาจก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ ผิวควรได้รับการปกป้องจากการทำลายของรังสียูวีที่ทำให้ผิวแก่ก่อนวัย แม้ผิวจะสามารถต่อต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้ด้วยสารแอนตี้ออกซิแดนท์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติในร่างกายอย่างซุปเปอร์ออกไซด์ ดิสมิวเทส (superoxide dismutase) กลูทาไธโอน (Glutathione) และเมลานิน (Melanin) รวมทั้งวิตามินเอ ซี อี แต่ภายใต้แสงแดดอันร้อนแรงและมลพิษต่าง ๆ นอกจากอนุมูลอิสระจะเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วแล้ว สารต่อต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติในร่างกายแม้จะมีอยู่มหาศาลก็จะโรยแรงไปด้วยรังสียูวี เช่น เมื่อตากแดดเกินกว่า 20 นาที ระดับกลูทาไธโอนจะลดลงอย่างรวดเร็ว นั่นคือเหตุผลที่เราจำเป็นต้องใช้ครีมกันแดด..  วิธีการเลือกใช้ครีมกันแดด
          เลือกครีมกันแดดให้เหมาะสมกับลักษณะกิจกรรมที่ทำ เช่น ตากแดดมากควรใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงขึ้น หรือว่ายน้ำควรใช้ครีมกันแดดที่กันน้ำได้ด้วย เป็นต้น และเลือกครีมกันแดดที่ผสมสารกันแดดทั้งรังสียูวีเอและยูวีบี           
 วิธีการทาครีมกันแดด
          ควรทาครีมกันแดดก่อนออกแดดประมาณ 10 - 20 นาที และควรใช้ปริมาณมากถึง 2 มิลลิกรัมต่อพื้นที่ผิว 1 ตารางเซ็นติเมตร หรือประมาณ 1 ช้อนชา บริเวณใบหน้าและลำคอ ประมาณช้อนหวานสำหรับแขนแต่ละข้าง และประมาณ 1 ช้อนโต๊ะสำหรับขาแต่ละข้าง ในชีวิตจริงคนทั่วไปทาไม่ถึงครึ่งหนึ่งจากที่กำหนด เมื่อโดนแสงแดด มีเหงื่อ ครีมกันแดดบางส่วนจะหลุดออกไป จึงควรทาซ้ำ แม้จะใช้ครีมกันแดดที่ดีเพียงใด ก็ไม่อาจกันแดดได้ทุกช่วงคลื่น ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือควรหลีกเลี่ยงการตากแดดโดยไม่จำเป็น
สารกันแดดแบ่งเป็น 2 กลุ่ม
          ชนิดกายภาพ (Physical Sunscreen) เป็นสารที่มีคุณสมบัติสะท้อนแสง ไม่ทำปฏิกิริยากับผิวหนังและไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ เช่น ไททาเนียมไดออกไซด์ (Titanium Dioxide) ซิงค์ ออกไซด์ (Zinc Oxide) สารกันแดดนี้สามารถกันได้ทั้งรังสียูวีเอ ยูวีบี แสงที่เห็นได้ และอินฟราเรด แต่มีข้อเสียบ้างคือทำให้หน้าขาว ในปัจจุบันมีการทำให้สารกลุ่มนี้กันแดดได้ดีและหน้าไม่ขาวเว่อ           ชนิดเคมี (Chemical Sunscreen) เป็นสารที่มีคุณสมบัติดูดซับพลังงานแสงไว้ไม่ให้ผ่านไปทำปฏิกิริยากับผิวหนัง สารนี้เมื่อดูดซับพลังงานแสงจะเปลี่ยนองค์ประกอบไป และอาจทำปฏิกิริยากับผิวหนัง ก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ สารกลุ่มนี้มีคุณสมบัติป้องกันแสงแดดได้เป็นบางช่วงคลื่น เช่น ออกซี่เบนโซน (Oxybenzone) ป้องกันรังสียูวีบี ไดเบนโซอิลมีเธน (Dibenzoylmethane) ป้องกันรังสียูวีเอ

          Tips:
          เมื่อต้องออกไปผจญแดดกล้า ควรมองหาครีมกันแดดที่มีส่วนผสมขอแคโรทีน (Carotene) เพราะนอกจากจะช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์ผิวถูกทำลายจากแสงแดดและลุกลามกลายเป็นมะเร็งที่ผิวหนังได้ และยังช่วยให้ผิวเป็นสีแทนเร็วขึ้น เมื่อแคโรทีนสัมผัสกับแสงแดดโดยตรงจะเกิดปฏิกิริยากลายเป็นสีออกส้ม ๆ ซึ่งจะทำให้ผิวเป็นสีแทนสวยสม่ำเสมอแถมยังประหยัดเวลาและปลอดภัยอีกด้วย           คิดไว้เสมอว่า ถึงแม้จะนั่งเล่นในที่ร่มกลางชายหาดก็ใช่ว่าจะปลอดภัยจากรังสียูวีได้ เนื่องจากแสงแดดสามารถสะท้อนตรงมาสู่ผิวเราโดยผ่านทางน้ำทะเลและพื้นทราย ซึ่งเป็นอันตรายต่อผิวพอ ๆ กันกับการออกไปกระโดดโลดเต้นกลางแดดเปรี้ยง ๆ นั่นเอง           สามารถลบรอยชุดว่ายน้ำที่เกิดขึ้นหลังอาบแดดได้โดยการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้ผิวเป็นสีแทนโดยไม่ต้องโดนแดดที่เรียกว่า Self Tanning ทาลงบนผิวที่เป็นรอยด่างนั้น แล้วรอประมาณ 1 ชั่วโมง จะพบว่ารอยด่างจางลง ถ้ายังไม่พอใจสามารถทาซ้ำอีกครั้งและอยู่ได้นานเป็นอาทิตย์















ที่มา...................Newunewlook











0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Read more: http://tomatoessource.blogspot.com/2013/05/numbered-page-navigation.html#ixzz2bMvm5uKk IT Blog Program Tools Tricks